หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปีจัดขึ้นสำหรับพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กเพื่อใช้เป็นแนวทางการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้อย่างเหมาะสมกับเด็กเป็นรายบุคคล
จุดหมาย
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปีมุ่งส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายอารมณ์จิตใจสังคมและสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัยความสามารถความสนใจและความแตกต่างระหว่างบุคคลดังนี้
๑. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยแข็งแรงและมีสุขภาพดี
๒. สุขภาพจิตดีและมีความสุข
๕. มีทักษะชีวิตและสร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
๔. มีทักษะการใช้ภาษาสื่อสารและสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ
คุณลักษณะที่พึงประสงค์
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปีกำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ดังนี้
๑. พัฒนาการด้านร่างกาย
๒. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขภาพดี
๑. ใช้อวัยวะของร่างกายได้ประสานสัมพันธ์กัน
๒. พัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ
๓. มีความสุขและแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย
๓. พัฒนาการด้านสังคม
๔. รับรู้และสร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
๕. ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
๔. พัฒนาการด้านสติปัญญา
๖. สื่อความหมายและใช้ภาษาได้เหมาะสมกับวัย
๗. สนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว
การอบรมเลี้ยงดูและการพัฒนาเด็ก
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปีแบ่งการอบรมเลี้ยงดูและการพัฒนาเด็กออกเป็น ๒ ช่วงอายุประกอบด้วยช่วงอายุแรกเกิด-๒ ปีเป็นแนวปฏิบัติการอบรมเลี้ยงดูตามวิถีชีวิตประจำวันโดยพ่อแม่และผู้เลี้ยงดูและช่วงอายุ ๒-๓ ปีเป็นแนวปฏิบัติการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้โดยพ่อแม่และผู้เลี้ยงดูแต่ละช่วงอายุมีรายละเอียดดังนี้
ช่วงอายุแรกเกิด-๒ ปี
แนวปฏิบัติการอบรมเลี้ยงดูตามวิถีชีวิตประจำวันโดยพ่อแม่และผู้เลี้ยงดูสำหรับเด็กช่วงอายุแรกเกิด-๒ ปีเน้นการอบรมเลี้ยงดูตามวิถีชีวิตประจำวันและส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน ได้แก่ ด้านร่างกายส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ร่างกายตามความสามารถด้านอารมณ์จิตใจส่งเสริมการตอบสนองความต้องการของเด็กอย่างเหมาะสมภายใต้สภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและปลอดภัยด้านสังคมส่งเสริมให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลใกล้ชิดและด้านสติปัญญาส่งเสริมให้เด็กได้สังเกตสิ่งต่างๆรอบตัวเพื่อสร้างความเข้าใจและใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับวัย
การอบรมเลี้ยงดูตามวิถีชีวิตประจำวันสำหรับเด็กช่วงอายุแรกเกิด-๒ ปีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวางรากฐานชีวิตของเด็กทั้งทางร่างกายอารมณ์จิตใจสังคมและสติปัญญาการจัดกิจกรรมในแต่ละวันควรจัดให้สอดคล้องกับความต้องการความสนใจและความสามารถตามวัยของเด็กโดยผ่านการอบรมเลี้ยงดูตามวิถีชีวิตประจำวันและการเล่นตามธรรมชาติของเด็กโดยมีแนวปฏิบัติการอบรมเลี้ยงดูตามวิถีชีวิตประจำวัน ดังนี้
๑. การฝึกสุขนิสัยและลักษณะนิสัยที่ดี เป็นการสร้างเสริมสุขนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหารการนอนการทำความสะอาดร่างกายการขับถ่ายตลอดจนปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีในการดูแลสุขภาพอนามัยความปลอดภัยและการแสดงมารยาทที่สุภาพนุ่มนวลแบบไทย
๒. การเคลื่อนไหวและการทรงตัว เป็นการส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อแขนกับขามือกับนิ้วมือและส่วนต่างๆของร่างกายในการเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายทุกส่วนโดยการจัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวทั้งกล้ามเนื้อใหญ่กล้ามเนื้อเล็กและตามความสามารถของวัยเช่นคว่าคลานยืนเดินเล่นนิ้วมือเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายตามเสียงดนตรีปีนป่ายเครื่องเล่นสนามเด็กเล็กเล่นม้าโยกลากจูงของเล่นมีล้อที่จักรยานทรงตัวของเด็กเล็กโดยใช้เท้าช่วยไถ
๓. การฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือ-ตา เป็นการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือนิ้วมือให้พร้อมที่จะหยิบจับฝึกการทำงานอย่างสัมพันธ์กันระหว่างมือ-ตารวมทั้งฝึกให้เด็กรู้จักคาดคะเนหรือกะระยะทางของสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเทียบกับตนเองในลักษณะใกล้กับไกลเช่นมองตามเครื่องแขวนหรือโมบายที่มีเสียงและสี (สำหรับขวบปีแรกควรเป็นโมบายสีขาวดำ) ร้อยลูกปัดขนาดใหญ่เล่นหยอดบล็อกรูปทรงลงกล่องตอกหมุดโยนรับลูกบอลเล่นน้ำเล่นปั้นแป้งใช้สีเทียนแท่งใหญ่วาดเขียนขีดเขีย
๔. การส่งเสริมด้านอารมณ์ จิตใจ เป็นการส่งเสริมการเลี้ยงดูในการตอบสนองความต้องการของเด็กด้านจิตใจโดยการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่นและมีความสุขเช่นสบตาอุ้มโอบกอดสัมผัสการเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านการแสดงออกทางอารมณ์ตอบสนองต่อความรู้สึกที่เด็กแสดงออกอย่างนุ่มนวลอ่อนโยนปลูกฝังการชื่นชมธรรมชาติรอบตัว
๕. การส่งเสริมทักษะทางสังคม เป็นการส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์กับพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูและบุคคลใกล้ชิดโดยการพูดคุยหยอกล้อหรือเล่นกับเด็กเช่นเล่นจ๊ะเอ๋เล่นเล่นโยกเยกเล่นประกอบคำร้องเช่นจันทร์เจ้าเอ๋ยแมงมุมตั้งไข่ล้มหรือพาเด็กไปเดินเล่นนอกบ้านพบปะเด็กอื่นหรือผู้ใหญ่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดเช่นพาไปบ้านญาติพาไปร่วมกิจกรรมที่ศาสนสถาน
๖. การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า เป็นการกระตุ้นการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าในการมองเห็นการได้ยินเสียงการลิ้มรสการได้กลิ่นและการสัมผัสจับต้องสิ่งต่างๆที่แตกต่างกันในด้านขนาดรูปร่างสีน้ำหนักและผิวสัมผัสเช่นการเล่นมองตนเองกับกระจกเงาการเล่นของเล่นที่มีพื้นผิวแตกต่างกัน
๗. การส่งเสริมการสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เป็นการฝึกให้เด็กเรียนรู้สิ่งรอบตัวผ่านเหตุการณ์และสื่อที่หลากหลายในโอกาสต่างๆรู้จักสำรวจและทดลองสิ่งที่ไม่คุ้นเคยเช่นมองตามสิ่งของหันหาที่มาของเสียงค้นหาสงของที่ปิดช่อนจากสายตากิจกรรมการทดลองง่ายๆ
๘. การส่งเสริมทักษะทางภาษา เป็นการฝึกให้เด็กได้เปล่งเสียงเลียนเสียงพูดของผู้คนเสียงสัตว์ต่างๆรู้จักชื่อเรียกของตนเองชื่ออวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายชื่อพ่อแม่หรือผู้คนใกล้ชิดและชื่อสิ่งต่างๆรอบตัวตลอดจนฝึกให้เด็กรู้จักสื่อความหมายด้วยคำพูดและท่าทางชี้ชวนและสอนให้รู้จักชื่อเรียกสิ่งต่างๆจากของจริงอ่านหนังสือนิทานภาพหรือร้องเพลงง่ายๆให้เด็กฟัง
๙. การส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เป็นการฝึกให้เด็กได้แสดงออกทางความคิดตามจินตนาการของตนเองเช่นขีดเขียนวาดรูปอย่างอิสระเล่นบล็อกเล่นของเล่นสร้างสรรค์พูดเล่าเรื่องตามจินตนาการเล่นสมมติ
การอบรมเลี้ยงดูและการจัดประสบการณ์
การอบรมเลี้ยงดูและการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปีเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงได้พัฒนาทั้งด้านร่างกายอารมณ์จิตใจสังคมและสติปัญญาสามารถจัดในรูปของกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่นการอบรมเลี้ยงดูและการจัดประสบการณ์ควรคำนึงถึงสิ่งสำคัญต่อไปนี้
๑. อบรมเลี้ยงดูเด็กและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นเด็กเป็นสำคัญ
๒. ตระหนักและสนับสนุนสิทธิขั้นพื้นฐานที่เด็กพึ่งได้รับ
๓. ปฏิบัติตนต่อเด็กด้วยความรักความเข้าใจและใช้เหตุผล
๔. ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กอย่างสมดุลครบทุกด้าน
๕. ปลูกฝังระเบียบวินัยคุณธรรมและวัฒนธรรมไทย
๖. ใช้ภาษาที่เหมาะสมกับความสามารถและการเรียนรู้ของเด็ก
๗. สนับสนุนการเล่นตามธรรมชาติของเด็ก
๘. จัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
๙. ประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
๑๐. ประสานความร่วมมือระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองผู้เลี้ยงดูสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและชุมชน
การประเมินพัฒนาการการประเมินพัฒนาการ
เด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปีควรประเมินให้ครอบคลุมครบทุกช่วงอายุเพราะช่วงวัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วอีกทั้งมีความเสี่ยงต่อสภาพความผิดปกติต่างๆจึงจำเป็นต้องเฝ้าระวังและติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูควรสังเกตพัฒนาการเด็กโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลหากพบความผิดปกติต้องรีบพาไปพบแพทย์หรือผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กเพื่อหาทางแก้ไขหรือบำบัดฟื้นฟูโดยเร็วที่สุดสำหรับหลักในการประเมินพัฒนาการมี ดังนี้
๑. ประเมินพัฒนาการของเด็กครบทุกด้าน
๒. ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
๓. ประเมินด้วยวิธีการที่หลากหลายซึ่งวิธีการประเมินที่เหมาะสมกับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปีมีการสังเกตพฤติกรรมของเด็กในกิจกรรมต่างๆและกิจวัตรประจำวันการบันทึกพฤติกรรมการสนทนาการสัมภาษณ์เด็กและผู้ใกล้ชิดและการวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานเด็ก
๔. บันทึกพัฒนาการลงในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก) และใช้คู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขหรือของหน่วยงานอื่น
๕. นำผลที่ได้จากการประเมินพัฒนาการไปพิจารณาจัดกิจกรรมเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้และมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย
